วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

๑. หน่วยเศรษฐกิจ
     การดำเนินกิจกกรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภค จำเป็นจะต้องดำเนินอย่างประหยัดและสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลในสังคมให้ได้มากที่สุด
   ๑.๑ ประเภทของหน่วยเศรษฐกิจ
  หน่วยเศรษฐกิจเป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในแต่ระบบเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่ต่างๆในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ  
    ๑) ครัวเรือน เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่อาจเป็นบุคคลเพียงคนเดียวหรือหลายคนร่วมกันตัดสินใจเพื่อใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นเงิน ทรัพย์สินและแรงงานให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สมาชิกของครัวเรือนอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
   ๒) ธุรกิจ เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำเอาปัจจัยการผลิตต่างๆ แล้วนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค หน่วยธุรกิจนี้ประกอบด้วยผู้ผลิต และผู้ขาย ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้อาจทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตและผู้ขายไปพร้อมกันก็ได้
   ๓) องค์กรรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการต่างๆ มีหน้าที่และความสัมพันธ์กับหน่วยงานอืนๆ ในระบบเศรษฐกิจ เช่น ควบคุมและให้ความช่วยเหลือแก่ครัวเรือนและธุรกิจ เรียกเก็บภาษีจากครัวเรือนและธุรกิจ

   ๑.๒ ความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ
  ในทางทฤษฎี บุคคลในระบบเศรษฐกิจมีหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ในทางปฎิบัติการแบ่งหน้าที่แบบนี้จะแยกจากกันโดยเด็ดขาดได้ยาก ซึ่งหน้าที่ต่างๆดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันเป็นวงจรเศรษฐกิจดังนี้






   ๒. ระบบเศรษฐกิจ 
    ระบบเศรษฐกิจ หมายถึง กระบวนการทางเศรษฐกิจที่เกิดจากความร่วมมือกันของมนุษย์ในการสร้างและใช้ทรัพยากรเพื่อสนองควมต้องการระหว่างกันของสมาชิกในสังคมที่มีการปฎิบัติคล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถแบ่งระบบเศรษฐกิจได้เป็น3ระบบ ดังต่อไปนี้

    ๒.๑ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)
     ๑) ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน มีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร
               ๒) ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม 
                   ๑. เกิดแรงจูงใจในการผลิตและทำงาน
                   ๒. เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุดจึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอ
                   ๓. บุคคลในระบบเศรษฐกิจมีอิสรเสรีในการใช้ทรัพยากร
                   ๔. ผู้บริโภคมีโอกาศบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ
           ๓) ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม 
                   ๑. ทำให้กระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน
           ๒. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้ในทุกสถานการณ์ ในบางครั้งรัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมราคา หรือแบ่งปันสิ่งของบางอย่างเมื่อเกิดการขาดแคลน
               ๓. หากมีผู้ผลิตสินค้าและบริการน้อยราย โอกาศที่ผู้ผลิตจะรวมตัวกันผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการย่อมเป็นไปได้ง่าย

     ๒.๒ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)                               
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว อาทิ ที่พักอาศัย
           ๑) ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้าไปเป็นผู้ควบคุมดำเนินการผลิต การประกอบการ โดยเน้นด้านสวัสดิการของประชาชนในประเทศทั้งนี้มิใช่รัฐบาลเป็นเจ้าของกิจการทุกอย่าง
              ๒) ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
                 ๑. ประชาชนได้รับการดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการจากภาครัฐค่อนข้างดี
                 ๒. รัฐบาลเข้าควบคุมกิจการบางอย่างทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรและมีการกระจายรายได้ดี
            ๓. การที่รัฐเข้าไปดำเนินกิจกรรมขนาดใหญ่ ทำให้เป็นการขจัดการแข่งขันทางด้านการโฆษาและมีการกระจายรายได้ที่ดี
               ๓) ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
                  ๑. การวางแผนจากส่วนกลางและดำเนินกิจการขนาดใหญ่โดยรัฐ หากผู้วางแผนและนโยบายไม่ดี ก็อาจทำให้การตัดสินใจและการจัดสรรทรัพยากรไม่เป็นไปตามหลักที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                  ๒. ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ความสามารถ
                  ๓. ขาดแรงจูงใจที่กระตุ้นให้ทำการผลิตหรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ
    ๒.๓ ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed economy) 
        ๑) ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบผสม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ได้นำเอาลักษณะบางอย่างที่เหมาะสมของระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมาผสมผสานให้เป็นระบบใหม่
               ๒) ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม 
                   ๑. มีความคล่องตัวในการดำเนินการ
                   ๒. รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังความสามารถที่กระทำได้
                   ๓. เอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจมีการแข่งขันกันผลิต
                   ๔. เอกชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารณธูป การศึกษา
                ๓) ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบผสม
                   ๑. กำลังใจหรือแรงจูงใจสำหรับเอกชนอาจมีไม่มากพอ
                  ๒. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม รัฐได้เข้ามาวางแผนเพียงบางส่วนเท่านั้นอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
                   
                  ๓. การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อสานประโยชน์ของรัฐกับเอกชนให้เกิดผลดีต่อส่วนรวม
                 ๔. การบริหารงานของรัฐในกิจการอุตสาหกรรมบางประเภท หรือการบริการจำนวนมากยังขาดประสิทธิภาพเมื่อเที่ยบกับการบริหารงานของเอกชน

๓. ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
            ตลาด หมายถึง สถานที่ที่ผู้ซื้อเเละผู้ขายมีการติดต่อกันได้โดยสะดวกจนสามารถทำการเเลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้   ตลาดจึงมีความหมาย ๒ นัย คือ
            ตลาดนัยเเรก หมายถึง สถานที่ที่ผู้ซื้อผู้ขายมาติดต่อซื้่อขายกัน เช่น ตลาดนัดสวนจตุจักร ตลาดท่าเตียน
             ตลาดนัยที่สอง หมายถึง การติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อเเละผู้ขายในทางใดทางหนึ่งหรือหลายทาง ได้แก่ ทางโทรศัพท์ โทรสาร 
๓.๑ ความสำคัญของตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันถ้าไม่มีตลาดจะเกิดปัญหาตามมามากมาย นับตั้งเเต่ผู้บริโภคจะมีความยากลำบากในการที่จะไปหาซื้อสินค้าที่ต้องการ ผู้ผลิตก็มีความยุ่งยากเพราะไม่ทราบว่าผู้ซื้อต้องการจะซื้อสินค้าอะไร มีรูปร่างลักษณะอย่างไร จำนวนเท่าไร ดังนั้นตลาดจึงเป็นสื่อกลางเชี่ยมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค เเละมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ดังนี้  
    
   ๑. ช่วยให้ผู้ผลิตทำการผลิตสินค้าและบริการได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
   ๒. ช่วยให้ผู้บริโภคมีมาตรฐานครองชีพสูงขึ้น
   ๓. ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวสูงขึ้น

๓.๒ ขนาดของตลาด 
 ตลาดจะมีอาณาเขตกว้างขวางเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
๑. การคมนาคมและการสื่อสาร ถ้าระบบติดต่อสื่อสารทั้งระบบวิทยุสื่อสาร โทรศัพท์ การสื่อสารอีเล็กทรอนิกส์ ถนน ท่าเรือ สนามบิน มีการพัฒนาตัวได้กว้างขวางเพียงใด ตลาดก็จะมีอาณาเขตกว้างขวางมากขึ้น
๒. ลักษณะของสินค้า 
๓. นโยบายของรัฐ

๓.๓ คนกลางในตลาด
 การซื้อขายสินค้าในตลาดมีทั้งการซื้อขายสินค้าโดยตรงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคกับการซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งพ่อค้าคนกลางอาจมีหลายระดับเช่น พ่อค้าคนกลางในท้องถิ่นตลาด พ่อค้าคนกลางในตลาดปลายทาง พ่อค้าปลีก เป็นต้น

๓.๔ ประเภทของตลาด
 ประเภทของตลาดสามารถสรุปได้ดังนี้
  ๑) การแบ่งตลาดตามชนิดสินค้า แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท 
   ๑.๑ ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นตลาดที่มีการขายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหาร เสื้อผ้า
  ๑.๒ ตลาดปัจจัยการผลิต เป็นตลาดที่มีการซื้อขายปัจจัยการผลิตเพื่อไปนำใช้ในการผลิตสินค้าชนิดอืน เช่น เครื่องสูบน้ำ รถบรรทุก เป็นต้น  
   ๑.๓ ตลาดเงินและตลาดทุน เป็นตลาดที่มีการติดต่อตกลงกันเรื่องเงินเป็นต้นว่า การกู้ยืม การซื้อขายหลักทรัพย์ 
  ๒) การแบ่งตลาดตามการดำเนินการของผู้ขาย แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท
   ๒.๑ ตลาดขายส่ง เป็นตลาดที่มีการขายสินค้าครั้งละมากๆ โดยจำหน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง
   ๒.๒ ตลาดขายปลีก เป็นตลาดที่มีการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง
  ๓) การแบ่งตลาดตามกลุ่มของผู้ซื้อ แบ่งได้เป็น ๔ ประเภท
 ๓.๑ ตลาดผู้บริโภค เป็นกลุ่มของผู้บริโภคที่เป็นบุคคลหรือครัวเรือนที่ซื้อสินค้าไปเพื่ออุปโภคบริโภคใน ครัวเรือน
 ๓.๒ ตลาดผู้ผลิต เป็นการซื้อสินค้าของผู้ผลิตเพื่อนำไปแปรรูปหรือใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง  
 ๓.๓ ตลาดผู้ขายต่อ เป็นการซื้อสินค้าของผู้ประสงค์จะนำสินค้าไปขายต่อโดยหวังผลกำไรอีกทอดหนึ่ง
 ๓.๔ ตลาดรัฐบาล เป็นการซื้อสินค้าของหน่วยราชการเพื่อนำไปใช้ในองค์การต่างๆ
 ๓.๕ ตลาดระหว่างประเทศ เป็นการซื้อสินค้าระหว่างประเทศ
 ๔) การแบ่งตลาดตามลักษณะของการแข่งขัน แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทได้แก่
 ๔.๑ ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบรูณ์
    ๔.๑.๑ มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก
    ๔.๑.๒ สินค้าที่ซื้อหรือขายต้องมีลักษณะอย่างเดียวกัน กล่าวคือ สามารถที่จะใช้แทนกันได้อย่างสมบรูณ์ในสายตาของผู้ซ์้อ
    ๔.๑.๓ ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีความรอบรู้สภาวะตลาด
    ๔.๑.๔ การติดต่อซื้อขายจะต้องทำได้โดยสะดวก
    ๔.๑.๕ หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรืออกจากธุรกิจการค้าโดยเสรี
๔.๒ ตลาดที่มีการแข่งขันอย่างไม่สมบรูณ์
    ๔.๒.๑ ตลาดผูกขาด เป็นตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว
  ๔.๒.๒ ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีอิสระในการซื้อขายสินค้าของตนเอง
   ๔.๑.๓ ตลาดผู้ขายน้อยราย เป็นตลาดที่มีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย